วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554

25 ชั่วโมง: ฮานอย

                        เวียดนาม ประเทศที่น่าสนใจหลายแง่มุม มีการลงทุนจากต่างประเทศและการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคในประเทศมากมาย ได้เคยเห็นภาพถ่ายทะเลทรายและนาขั้นบันไดจากนิทรรศการประกวดภาพของสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยฯ นานหลายปีมาแล้ว เมื่อมีโอกาสจึงมุ่งหน้าเดินทางทันที  ก่อนอื่นหาข้อมูลเท่าที่มีอยู่ในระบบออนไลท์  หลายท่านเดินทางไปมาแล้วให้ข้อมูลที่น่าสนใจ ว่าสามารถเดินทางได้ทั้งทางบกและอากาศ เลยวางแผนว่าจะเดินทางแบบวงกลม คือไปทางบกกลับทางอากาศ ด้วยการไปทางประเทศลาวเข้าเวียดนามตรงสู่ฮานอย ..แล้วกลับเครื่องบิน...ข้อมูลระบุว่าทางรถยนต์เป็นรถนอนปรับอากาศ  ใช้เวลา 24 ชั่วโมง..โดยออกทางหนองคายเข้าเวียงจันทร์  เข้าทางภาคเหนือของเวียดนาม  ถ้าออกทางมุกดาหาร ไปทางถนนหมายเลข 9 จะเข้าภาคกลางเมืองเว้ ดานัง ฮอยอัน แล้วลงใต้ ..เป็นครั้งแรกที่เดินทางไปเวียดนามด้วยตนเอง..(ไม่ได้ไปกับทัวร์)..เตรียมกลุ่มเดินทางด้วยกันมุ่งหน้าสู่ลาวและเวียดนาม
                      จัดเตรียมข้าวของนอกจากเสื้อผ้ากันหนาว(ข้อมูลบอกว่าอุณหภูมิประมาณ 19-20 องศา เอ..นี่เดือนมีนาคมอากาศไม่น่าจะหนาวมาก)  แล้วเครื่องอุปกรณ์ถ่ายภาพ แท่นชารต์แบตเตอร์รี่พร้อมตัวต่อ ยาแก้ไข้จำพวกพารา ฯ ตารางรถโดยสารปรับอากาศเวียงจันทร์-ฮานอย 19.00 ค่าโดยสารคนละ 200,000 กีบ คิดเป็นเงินไทยก็ 800 บาท ต้องเตรียมน้ำดื่มและอาหารแห้งจำพวกขนมปังไปด้วย รถจอดพักระหว่างทางบ้าง รถนอน 2 ชั้นเรียงเป็นสามแถว ตัวที่นอนเป็นเบาะกว้างประมาณ 60 ซม.ยาวประมาณ 1.50-1.60 เมตร ผนังพิงปรับเอนนอนยกสูงได้เล็กน้อย(ชั้นบนติดหลังคา) แบบนั่งกึ่งนอนปวดหลังเหมือนกัน ไม่มีเบอร์ใครมาก่อนจองที่ก่อน..ที่นอนด้านล่างสะดวกดีแต่ผู้ที่เดินทางบ่อยๆเขาจองไปหมดแล้ว  คณะเราเลยได้ชั้นบน..ระหว่างเดินทางอย่าทายน้ำมากนัก เนื่องจากรถไม่มีห้องน้ำในตัว..ต้องปล่อยข้างทาง..
ท่ามกลางธรรมชาติ..บนรถนอนมีหนังให้ดู..เสียงพากย์เป็นเวียดนามแบบอ่านบทไม่มีอารมณ์.ชวนให้หลับยาวๆ..อิจฉาคนที่มีMP3..หลับไปหลายตื่น..รถจอดตอนตี 4  อากาศในรถอุ่นสบาย
                  



สภาพภายในรถนอนเวียงจันทร์-ฮานอย
ผนักปรับเอนนอนได้บ้าง




































  




พักทานข้าวเที่ยงในเขตเวียดนาม


















บริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองลาว-เวียดนาม หมอกหนา ฝนฉ่ำหนาวมากๆ



ถึงด่านชายแดนลาวเวียดนามแล้ว....แต่ต้องรอจนกว่าจะ 07.00 น.ด่านเปิดเตรียมเอกสาร
ประตูรถเปิด..โอ๋...โอ..หนาวสะท้านละครับ..ด่านอยู่บนภูเขาสูงอุณหภูมิประมาณ 12 องศาหมอกจัดฝนกระหน่ำ..แต่ต้องลงไปทำใบผ่านด่านออกจากลาวและเข้าเวียดนาม..ทั้งเปียกและหนาว..ได้ใจเลย..กว่าจะเรียบร้อยออกจากด่านเข้าเวียดนามก็ 08.30 น....ใกล้ถึงฮานอยแล้ว..ไม่กี่ชั่วโมงเอง..กระทั้งพระอาทิตย์ตกดินอีกรอบยังไม่ใกล้ความจริงเลย....20.30 น...สวัสดีเวียดนาม..ฮานอย...เบ็ดเสร็จก็ 25 ชั่วโมง..สำหรับคนที่สูงเกินกว่า 1.70 เมตรจะงอเข่าตลอดการเดินทาง.. จากนี้ก็เริ่มหาที่พักและวางแผนต่อว่าจะไปที่ไหนบ้าง...แนะละทะเลสาบคืนดาบ...ต้องไปดูเห็นว่ามีเต่ายักษ์อาศัยอยู่ด้วย...และที่ตั้งใจไปมากๆคือ "ซาปา" ทางตอนเหนือของเวียดนามใกล้ชายแดนจีน...นาขั้นบันได....ตอนต่อไป

วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กล้องรูเข็ม (Pinhole Camera)

ภาพถ่าย ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติของแสง   เมื่อแสงกระทบวัตถุจะสะท้อนกระเจิงทุกทิศทาง  หากแสงถูกบีบให้อยู่ในทิศทางเดียวกันและมีขนาดเล็กๆ  จะปรากฏภาพขึ้นบนระนาบในระยะทางที่เหมาะสม   องค์ความรู้นี้ปรากฏหลักฐานกว่าสามพันปีก่อน  มีการจดบันทึกโดย  ลีโอนาโด  ดาวินชีิ  เป็นสิ่งประดิษฐ์ในชื่อของ “คาเมร่า ออปสครูร่า” (Camera Obscura) เป็นห้องมืดทึบขนาดใหญ่  ในยุดแรกใช้ศึกษาสุริยะคราด และการวาดภาพทิวทัศน์ที่ให้เปอร์สเปกตีฟเหมือนที่นัยน์ตามองเห็นตามธรรมชาติ ด้วยขนาดที่ใหญ่โต จึงพัฒนาให้มีขนาดเล็กลงด้วยหลักการของกล่องเก็บแสงที่ด้านหนึ่งเจาะรูเข็มขนาดเล็กให้แสงผ่านในทิศทางเดียว ให้ชื่อว่า “กล้องรูเข็ม” (Pinhole  camera)   รูเข็มทำหน้าที่บีบ
ลำแสงให้ภาพปรากฏชัดที่สุด บนระนาบรับภาพที่อยู่ตรงข้าม   จึงสามารถบันทึกภาพได้   สิ่งที่จะต้องทราบหรือเงื่อนไขของกล้องรูเข็ม คือ ความสัมพันธ์ของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางรูเข็มกับทางยาวโฟกัสการควบคุปริมาณแสงกับระยะเวลาบันทึกภาพ (f/stop และ Shutter speed)
            ธรรมชาติของกล้องรูเข็ม
            ภาพถ่ายจากกล้องรูเข็ม เป็นภาพที่ปรากฏจากแสงโดยตรงไม่ผ่านการควบรวมแสงจากเลนส์แสงที่ฉายผ่านรูขนาดเล็กจะให้วงปรากฏภาพบนระนาบ  จึงมีความชัดและสว่างบริเวณส่วนกลางบริเวณขอบวงปรากฏภาพจะมืด แสงผ่านได้น้อยจึงต้องใช้เวลาบันทึกแสงนาน มุมรับภาพจะสัมพันธ์กับทางยาวโฟกัส และขนาดฟิล์มที่ใช้ถ่ายภาพ
            การสร้างกล้องรูเข็ม
            กล่องทึบแสง ภาชนะ กระเป๋าเดินทางหรือห้องพัก สามารถใช้เป็นกล้องรูเข็มถ่ายภาพได้เพียงเจาะรูขนาดเล็กด้านหนึ่ง ส่วนด้านที่เหลือต้องปิดทึบไม่ให้แสงใดๆผ่านได้  การสร้างกล้องรูเข็ม สิ่งแรกต้องกำหนดว่าจะใช้กับฟิล์มขนาดใด เพื่อกำหนดมุมรับภาพและทางยาวโฟกัสที่เหมาะสม  เช่นต้องการใช้ฟิล์มขนาด  35 มม. มุมรับภาพ(Angle of view) ปกติ (Normal angle ) ซึ่งมีทางยาวโฟกัสเท่ากับเส้นทะแยงมุมของกรอบฟิล์ม(Format film) ประมาณ  45 มม. หากต้องการมุมรับภาพกว้าง (Wide  angle )หรือมุมรับภาพแคบ (Tele-photo) ให้เทียบเคียงกับขนาดกว้างยาวของแฟรม เช่น 35 มม. ขนาดแฟรม 24 x36 มม. ดังนั้นมุมรับภาพกว้าง เทียบเคียงเท่ากับด้านกว้างของแฟรม ถ้าต้องการมุมรับภาพมุมแคบ
แบบเลนส์เทเลโฟโต้ ให้เทียบเคียงกับด้านยาว x2 ของแฟรม (36x2 = 75 มม.) สมมุติต้องการใช้ฟิล์ม 135-36  ISO 200  มุมรับภาพกว้าง
            วัสดุอุปกรณ์
1.          กล่องโลหะ  ใช้กล่องโลหะสี่เหลี่ยมหรือกล่องขนมคุกกี้ ที่มีความหนา 24 ถึง 20 มม. ความหนาของกล่อง วัดจากฝาถึงก้นด้านในกล่อง หน่วยมิลลิเมตร ความหนาเป็นทางยาโฟกัส จากระนาบหน้าถึงระนาบรับภาพ(ฟิล์ม) เจาะรูที่ฝากล่อง
2.          แผ่นอลูมิเนียม หรือกระป๋องนำ้อัดลม
3.          เข็มเย็บผ้า เบอร์ 11 เทปกาวสองหน้า(เทปกาวเยื่อ )
4.          กรรไกรที่สามารถตัดอลูมิเนียมได้
5.          เทปกาวชนิดผ้าใบ ใช้ปิดสันหนังสือ ขนาดกว้าง 2.5 นิ้วสีดำ
6.          กาวแห้งเร็ว
7.          แผ่นไม้อัดหรือไม้สำหรับทำงานฝีมือ ขนาดกว้าง 2 นิ้วยาว ประมาณ 6-10 นิ้ว (ตามขนาดกล่อง)
8.          น๊อตเกลียวนิ้วตัวเมียเบอร์ 10
9.          ปากกาลูกลื่น ไม้บรรทัด
10.     สีสเปรย์ดำด้าน
11.     แผ่นแม่เหล็กติดตู้เย็น ใช้เป็นตัวเปิดปิดแสง(Shutter)

ขั้นตอนการทำกล้อง
1.          เจาะรูบนฝากล่อง ใช้ตะปูขนาด 3 นิ้วทุบแต่งขอบให้เรียบ หรือเจาะด้วยสว่น พ่นสีดำด้าน  ภายในกล่องและฝาให้เสมอกัน ป้องกันการสะท้อนแสงในกล่อง ทิ้งให้แห้ง
2.          ตัดกระป๋องอลูมิเนียมขนาด 1x1 ซม. ทาสีดำ นำมาเจาะรูบริเวณศูนย์กลาง
3.          ใช้ปากกาลูกลื่น กดนำพอยุบให้ผิวหน้าอลูมิเนียมบางลง แล้วใช้เข็มเย็บผ้าเบอร์ 11 เจาะได้เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.3
4.          วัดความหนาภายในกล่อง หาทางยาวโฟกัส สมมุติวัดได้   75  มม.(ทางยาวโฟกัส)
5.          ใช้เทปกาวเยื่อติดบนแผ่นอลูมิเนียม เว้นช่องรูเข็ม ติดด้านที่ไม่ได้ทาสีดำ (ให้ด้านสีดำอยู่ในกล่อง) และติดเข้ากับฝากล่องให้อยู่ตรงกลางของรูที่เจาะด้วยตะปู
6.          แผ่นไม้อัดเจาะรูตรงกลางใส่น๊อตตัวเมีย ติดกาวแห้งเร็วให้แน่นใช้เป็นฐานกล้อง   สามารถใช้กับขาตั้งกล้องถ่ายภาพได้
7.          คำนวณค่าช่องรับแสงรูเข็ม f/รูเข็ม เทียบกับเลนส์กล้อง คำนวณจาก
สูตร  f/stop (pinhole)                  =       ทางยาวโฟกัส หารด้วย เส้นผ่านศูนย์กลางรูเข็ม
  ทางยาวโฟกัส                      =       75 มม.
      เส้นผ่านศูนย์กลางรูเข็ม        =       0.3
แทนค่าในสูตร f/stop(pinhole) =       75/0.3        =  243.33 
8.          คำนวณค่าดัชนีฉายแสง (Pinhole Time Factor) ใช้
 สูตร       PTF            =         ช่องรับแสงรูเข็ม 2 หารด้วย  ช่องรับแสงที่ใช้วัดค่า2
เช่นใช้ฟิล์ม ISO 200  วัดแสงได้พอดีที่   Shutter speed 1/30   f/22
            PTF                =      243x243   =   59049
                                              22x22                484
                                    =      122
9.   ค่าที่คำนวณได้จดติดบนกล้องเพื่อความสะดวกในการ คิดค่าฉายแสงถ่ายภาพ
                        1.  ทางยาวโฟกัส                  F-75 มม.
                        2.  ช่องรับแสงรูเข็ม            f/243
                        3.  ค่า PTF                             122
                        4.  ค่าช่องแสงวัดค่า            f/22
           
การถ่ายภาพ
            กล้องรูเข็มจากกล่องขนมไม่มีช่องมองภาพ  จึงใช้มุมรับภาพกำหนดขอบเขตที่ต้องการ ด้วยการเล็งจากจุดกึ่งกลางของสันกล่อง เล็งมาทางมุมกล่องซ้ายและขวาในแนวราบ แนวตั้งให้เล็งจากแนวดิ่งของสันกล่องมุมบนและล่าง พื้นที่ที่มองเห็นเป็นมุมรับภาพโดยประมาณ ด้วยขนาดของช่องรับแสงรูเข็ม ขณะถ่ายภาพต้องใช้เวลายาวนาน จำเป็นต้องยึดกล้องให้นิ่ง โดยใช้แผ่มไม้อัดที่ติดน็อต ยึดกับกล้อง ส่วนน็อตใช้สำหรับยึดติดกับเพลทขาตั้งกล้อง และเปิดปิดชัตเตอร์ด้วยแผ่นแม่เหล็ก หรือวัสดุทึบแสงบังหน้าช่องรูเข็ม กำหนดเวลาถ่ายภาพด้วยการคำนวณ และจับเวลาฉายแสง
            การกำหนดค่าฉายแสง (Exposure )
            การถ่ายภาพให้ได้น้ำหนักที่เหมาะสมพอดี(Normal exposure) ต้องใช้ระบบวัดแสงจากกล้องหรือเครื่องวัดแสง โดยตั้งค่า ISO 200 ตามฟิล์มที่ใช้งาน ตั้งค่าช่องรับแสงที่ f/22 วัดแสงและอ่านค่าความเร็วชัตเตอร์ เช่น ได้ค่าชัตเตอร์ 1/30 วินาที จากกล้องรูเข็มค่าที่คำนวณ PTF ได้  122 นำมาเข้าสูตร
            สูตร  การฉายแสง                        =              Shutter speed x PTF
                                                                    =              1/30 x 122
            เวลาเปิดรับแสง                           =              4.07  วินาที

           วัสดุไวแสงอื่นๆสามารถนำมาใช้ถ่ายภาพจากกล้องรูเข็ม เช่น กระดาษอัดภาพขาวดำ ฟิล์มกราฟฟิกอารต์(หรือฟิล์มลิท)ฟิล์มโพราลอยด์ ฯเป็นต้น

          สำหรับผู้ที่ไม่มีเครื่องวัดแสงจะใช้ตารางแนะนำค่าบันทึกแสง ในเวป www.mrpinhole.com และ www.pinhole.net

หรือใน youtube พิมพ์คำว่า pinhole camera

วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

ศิลปะภาพถ่ายอัลเทอร์เนทีฟ (Alternative Photography)


การกลับมาของภาพถ่ายด้วยกระบวนการดั่งเดิม (Old Processing) แนวทางอนุรักษ์เชิงศิลปะ เป็นที่ทราบกันว่า การถ่ายภาพเป็นการจับแสงด้วยกล่องทึบและปฏิกริยาทางเคมีของสารไวแสง หรือ ซีซีดี(CCD) การสร้างสรรค์ศิลปะภาพถ่าย(Photography) มีพัฒนาการคู่ขนานกับศิลปะ (Fine Arts) ช่วงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในยุโรป เกิดภาพแนวทางอิมเพลสชั่น(Impressionism) ในส่วนของภาพถ่ายเกิดภาพแนวพิคโทเรี่ยล(Pictorialism) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิตอลมีอิทธิพลต่อการก้าวกระโดดของภาพถ่ายที่รวดเร็วและแปรเปลี่ยนจากความจริงประจักษ์ (Realistic) เป็นสิ่งสร้างสรรค์ที่ก้าวเกินกว่าความเป็นปัจจุบัน(Versual image) ทั้งอารมณ์และบรรยากาศ   ผิวสัมผัสของเนื้อกระดาษ
เส้นใยพืช (Fiber base) ได้ลดทอนลง  ผู้ที่นิยมชมชอบภาพถ่ายในแนวทางดั่งเดิมที่สร้างสรรค์ภาพจากสารไวแสงชนิดต่างๆได้หวนคืนสู่วิถีของกระบวนการที่ใช้สารไวแสง  ด้วยการนำกระบวนการเดิมกลับมาใช้สร้างสรรค์งานศิลปะในเชิงทดลองเป็นทางเลือก(Alternative Photography)   พัฒนาการใช้สารเคมีที่มีพิษน้อยลง  ปรับปรุงสูตรสารไวแสงและ
กระบวนการสร้างภาพ(Development)  เช่นการนำกระบวนการไซยาโนไทฟ์(Cyanotype  process)  กระบวนการกัมไบโครเมท (Gum-bichromate  process) กระบวนการคาร์บอนพรินท์ (Carbon print  process) กระบวนการแวนไดค์ (Van-dyke  process)และอื่นๆ มาสร้างสรรค์และพัฒนากระบวนการต่างๆให้ง่ายและสะดวก ต่อการใช้งาน มีพิษต่อสิ่งแวดล้อม
น้อยลง กระบวนการเหล่านี้ใช้สารไวแสงที่มีส่วนผสมของเงินไนเตรทน้อยมากหรือไม่มีเลย(Non-silver) ส่วนใหญ่เป็นปฏิกริยาของสารประกอบเหล็ก (Iron based) และสารประกอบโคเมียม(Chromium based) ต้นแบบในการสร้างภาพไม่จำเป็นต้องเป็นฟิล์มเนกาทีฟ  สามารถใช้วัสดุโปร่งใส วัสดุทึบแสง เช่นโครงร่างใบไม้ ขนนก ใยฝ้าย ผ้าลูกไม้ กระดาษบาง ฯ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการสร้างสรรค์จากวัสดุรอบตัว ผนวกกับจินตนาการ กำหนดระดับน้ำหนักภาพ (Tone value) เป็นไปตามความทึบบางของวัสดุต้นแบบ ประสิทธิภาพของสารไวแสง ช่วงเวลาและระดับความเข้มของ
รังสีอัลตราไวโอเรด  ดังนั้นตัวแปรจึงมีอยุ่บ้าง แต่ทำให้ได้ภาพที่เป็นต้นฉบับเพียงชิ้นเดียวที่สมบูรณ์(Master print)
กระบวนการที่ใช้มิได้เกิดขึ้นด้วยความบังเอิน หรืออุบัติเหตุ  สิ่งเหล่านี้สามารถทำซ้ำได้  เพียงแต่ความสมบูรณ์ของภาพแต่ละภาพจะแตกต่างกัน ในแต่ละครั้ง
ศิลปะภาพถ่ายอัลเทอร์เนทีฟ  จึงเป็นภาพถ่ายทางเลือกที่น่าสนใจยิ่งอีกทางหนึ่งลักษณะพิเศษของสารไวแสงที่ให้สีสันเฉพะตัว ความงามของน้ำหนักภาพและฝีแปรง พื้นผิวของวัสดุที่ใช้รองรับสารไวแสง  คุณสมบัติเหล่านี้จะพบได้เฉพาะในงานอัลเทอร์เนทีฟ เช่น กระบวนการแวนไดค์ (Van-dyke  process)หรือภาพ  (Brown Print) คุณสมบัติพิเศษที่ให้ภาพสีน้ำตาลแดง คล้ายสีซีเปีย จึงให้บรรยากาศของอารมณ์ที่ดูอบอุ่น และมีความหลังที่สงบสุขพร้อมด้วยความหวัง ด้วยโครงสีที่กลมกลืนในอารมณ์ที่อบอุ่น แม้บางครั้งจะดูเหงาแห้งแล้งและเก่าแก่ แต่สีน้ำตาลแดงก็ให้ความรู้สึกของอดีตที่น่าจดจำ
กระบวนการแวนไดค์ เป็นหนึ่งในศิลปภาพถ่ายอัลเทอร์เนทีฟที่ได้รับความสนใจ กระบวนการหนึ่งที่ให้ความงามทางสุนทรียศาสาตร์ ด้านสีสันบรรยากาศ ให้ภาพคมชัดสูง มีความคงทนและไวต่อแสงมากกว่ากระบวนการอื่นๆ  และมีลักษณะเฉพาะที่ให้สีน้ำตาลแดง
สารไวแสง (Sensitive solution)
เคมีหลักในน้ำยาไวแสงประกอบด้วย เฟร์ริคแอมโนเนียมซิเตรท  ทาร์ทาริคแอสิค และเงินไนเตรท การเตรียมสารไวแสงต้องทำในที่มืดสลัว หรือภายใต้แสงนิรภัยสีแดง  สีอำพันหรือหลอดไฟทังสเตนกำลัง 5-10 แรงเทียน ห้ามใช้แสงฟลูออเรสเซนซ์ เนื่องจากหลอดชนิดนี้มีรังสีอัลตราไวโอเรดเจืออยู่ซึ่งจะทำให้สารไวแสงเสียหายได้(Fog) ขณะผสมเคมีควรใส่ถุงมือยาง  เนื่องจากสารเงินไนเตรท์อาจเกาะติกผิวหนังได้ สารเงินนี้เมื่อถูกแสงจะเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลเข้ม
หากสัมผัสผิวหนังจะซึมเกาะติดอาจเป็นอันตรายได้  การผสมสารเคมีต้องแยกเป็น 3 ส่วนใส่ขวดทึบแสง แยกเป็น A, B และ C  การใช้งานเทสาร A:B:C  อย่างละเท่าๆกัน  โดยเทสาร A ลงภาชนะตามด้วย  B  ผสมให้เข้ากัน ตามด้วย  C  สารจะเปลี่ยนสี ผสมให้เข้ากัน จนใส สารละลายนี้จะมีอายุสั้นและไวต่อแสงทันที ดังนั้นจึงควรผสมสารไวแสงเท่าที่ต้องการใช้งานสามารถนำไปฉาบบนวัสดุตามต้องการ           
               สูตรน้ำยาไวแสง แวนไดค์
A            น้ำสะอาด                                                                                       33             มล.
               เฟร์ริคแอมโนเนียมซิเตรท                                                            9            กรัม
             [Ferric Ammonium Citrate (green)]
B            น้ำสะอาด                                                                                       33             มล.
              ทาร์ทาริคแอสิค                                                                             1.5            กรัม
            (Tartaric Acid)
C            น้ำสะอาด                                                                                       33             มล.
            เงินไนเตรท                                                                                     3.8            กรัม
            (Silver Nitrate)
การใช้งาน อัตราส่วน A:B:C = 1:1:1 ส่วน

วัสดุรองรับ
            วัสดุที่ใช้รองรับสารไวแสง นิยมใช้กระดาษวาดภาพสีน้ำขนาด 150-320 แกรม เนื่องจากกระบวนการสร้างภาพต้องใช้น้ำชะส่วนที่ไม่บันทึกแสงออก กระดาษจึงต้องหนาให้ทนต่อการแช่น้ำนานๆ หากเลือกใช้กระดาษเนื้อบางจะฉีกขาดได้ง่าย  หรืออาจใช้ผ้าฝ้่ายแทนกระดาษ ฯลฯ เช่นกระดาษของ Strathmore Artistes Drawing Paper, Rivers BFK, Whatman Water-colour 290 g, Stonehenge and Crane Kid Finish AS811, Arches Hot-press 300 g satin finish ,Fabriani Hot-press 300 g.  หรือ Master Art รุ่น Renaissance 200 gsm.  ผิวเนื้อกระดาษเลือกใช้แบบผิวหยาบ หรือผิวเรียบก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอารมณ์ของภาพและเนื้อสัมผัสที่ต้องการ พื้นผิววัสดุรองรับเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ใช้สร้างบรรยากาศของภาพ บางครั้งสามารถใช้ผ้าใบวาดสีน้ำมันแทนกระดาษก็ให้อารมณ์ภาพไปอีกแนวทางหนึ่ง
การฉาบสารไวแสง
            เตรียมกระดาษวาดภาพสีน้ำขนาด 200 แกรม เป็นวัสดุรองรับสารไวแสง ฉาบสารไวแสงในที่สลัว หรือภายใต้แสงนิรภัยสีแดง สารไวแสงนี้จะไวต่อรังสีอัลตราไวโอเรด ซึ่งมีในแสงแดด และหลอดวาวแสง การฉาบสารไวแสงจึงต้องระมัดระวัง การฉาบสารใช้แปรงโฟม ฉาบทาในทิศทางเดียวกัน และควรรอให้หมาดก่อนทาทับอีกครั้ง จากนั้นทิ้งไว้ในที่มืดให้แห้งสนิท อาจสามารถใช้เครื่องเป่าผมเร่งให้แห้งเร็วขึ้นได้แต่ต้องไม่เปิดสวิทช์ความร้อน  หรือทิ้งไว้ในห้องมืดสนิท 1 คืน และเก็บในซองดำหรือกล่องทึบแสง  กระดาษไวแสงนี้มีอายุสั้นควรใช้งานทันทีจะให้ผลดีที่สุด  หากต้องการเก็บสามารถเก็บได้นานประมาณ 2 สัปดาห์ในที่เย็นและมืดสนิท

วัสดุต้นแบบ (Nagative Films)
            กระบวนการนี้ให้ภาพตรงข้ามกับต้นแบบ  ดังนั้นต้นแบบจึงควรเป็นเนกาทิฟ เพื่อภาพที่ได้จะกลับเป็นพอซิทีฟ เหมือนจริงตามตาเห็น โดยทั่วไปจึงใช้ฟิล์มเนกาทีฟขาวดำเป็นวัสดุต้นแบบ ฟิล์มถ่ายภาพขาวดำและสี หรือวัตถุรอบตัวเรา เช่น วัตถุในธรรมชาติ  ขนนก ใบไม้รูปทรงแปลกตา ก้อนหิน กระดาษบางใส หรือแม้แต่ภาพถ่ายดิจิทัลที่พิมพ์์บนแผ่นใส ด้วยระบบอิงค์เจท หรือ ภาพจากเครื่องถ่ายเอกสาร( Photocoy ) ด้วยระบบผงหมึก ฯ สิ่งต่างๆเหล่านี้สามารถนำมาเป็น
วัตถุต้นแบบได้ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วัสดุโปร่งใสจะให้ผลดีกว่าวัตถุทึบแสง ที่สามารถให้น้ำหนักภาพที่มากกว่า การสร้างเนกาทีฟจากคอมพิวเตอร์ ต้องพิมพ์เลเยอร์แต่ละสี แยกออกมาเพื่อกำหนดน้ำหนัก(แยกชั้นสีแต่ละสี หากนำไปใช้กับกระบวนการกัมไบโครเมทกำหนดสีแต่ละส่วนของภาพ)

การฉายแสง (Exposure)
            การอัดภาพต้องใช้เฟรม ลักษณะคล้ายกรอบกระจกใส่รูปภาพ แต่มีสันขอบหนากว่า พื้นหลังเป็นแผ่นไม้อัดสองชิ้น ดามด้วยแผ่นเหล็กใช้ดันหลังไม้ให้กดกระดาษให้เรียบสนิทหากไม่มีกรอบเฟรมให้ใช้กระดานไม้วาดภาพ รองทับด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์สองสามช้ันทับด้วยกระจกใสขนาดเท่ากระดาน และคลิปจับกระดาษขนาดใหญ่ 4 ตัวจับขอบกระจก
นำกระดาษไวแสงวางบนพื้นกรอบเฟรมอัดภาพ วางฟิล์มเนกาทีฟบนกระดาษไวแสง ขั้นตอนนี้ต้องทำในที่สลัวไม่ใกล้แสงแดดและแสงไฟฟลูออเรสเซนซ์ ผนึกทับด้วยกระจกใสปิดล๊อคด้วยคริปจับกระดาษขนาดใหญ่ทั้ง 4 ด้าน  จากนั้นนำไปตากแดด วันที่ท้องฟ้าแจ่มใสไม่มีเมฆจะให้ผลดีที่สุด วางเฟรมอัดภาพทำมุม 90 องศากับดวงอาทิตย์  ใช้เวลาฉายแสงนาน
5-10 นาที สังเกตุสีของสารไวแสงจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวขี้ม้าเข้มถึงดำ  ครบเวลานำเข้าที่ร่ม ถอดคลิปและกระจกออกแยกแผ่นฟิล์มออก เตรียมลงน้ำสร้างภาพ (Developer)

การล้างกระดาษ (Processing  paper)
              นำกระดาษไวแสงไปล้างน้ำสะอาดให้น้ำไหลผ่านชะสารเคมีที่ไม่บันทึกแสงจะละลายออกไปสังเกตุดูน้ำจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นใส  นำลงน้ำยาคงภาพ (Fixer) แช่น้ำยานี้ประมาณ 1-2 นาทีจากนั้นนำไปล้างน้ำสะอาด 20-30 นาที และนำตากแห้ง 

สูตรน้ำยาคงภาพ
น้ำสะอาด                                                                      1000  มล.
โซเดียมไทโอซัลเฟท(ไฮโป)                                        30   กรัม
(Sodium Thiosulphate)
การใช้งาน  น้ำยาคงภาพนี้จะเปลี่ยนสีภาพจากน้ำตาลแดง เป็นสีน้ำตาลเข้ม แช่น้ำยานี้ประมาณ 1-2 นาที นำขึ้นชะน้ำ 20-30 นาที
           
การสร้างสรรค์งาน
            ภาพจากกระบวนการนี้ให้ภาพสีน้ำตาลเข้มและดำ ส่วนที่ไม่บันทึกแสงให้สีขาวของเนื้อกระดาษเป็นส่วนสว่างในภาพ บริเวณที่เป็นสีอ่อนให้น้ำหนักโทนต่อเนื่องได้ดี อารมณ์ของภาพให้โครงสีอบอุ่นและย้อนอดีตที่โหยหา ส่วนสว่างและน้ำหนักสีอ่อนบริเวณนี้สามารถเพิ่มสีสันด้วยสีน้ำหรือดินสอสีไม้น้ำ ในส่วนละเอียดที่ต้องการเน้นหรือสร้างสีสันตามจินตนาการของศิลปินและสามารถพัฒนาต่อยอดสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ๆได้อีกมากมาย  การย้อนกลับมาพิจารณาสิ่งที่มีอยู่เดิม ปรับประยุกต์ด้วยความคิดใหม่ในสภาพสังคมปัจจุบันนำเสนอด้วยกระบวนการและเทคนิควิธีที่โน้มนำสู่ความภาคภูมิและกระบวนการที่สะท้อนความคิดร่วมสมัย  เป็นอีกแนวทางของศิลปินศิลปะภาพถ่ายอัลเทอร์เนทีฟที่น่าสนใจยิ่ง

คำเตือน
การทำงานร่วมกับเคมีต้องระมัดระวัง และสวมเครื่องป้องกันเสมอ ขณะฉายแสงไม่ควรยืนใกล้หรืออยู่ใต้ลม เนื่องจากสารเคมีเมื่อถูกความร้อนจะมีบางส่วนที่ระเหยออกมาและเป็นพิษ จึงต้องอยู่ในที่มีอากาศถ่ายเทตลอดเวลา
           
เอกสารอ้างอิง
Arnow, Jan. (1982).   Handbook of Alternative Photographic Processes ,Van Nostrand Reinhold.
p. 67-71.
Blacklow,Laura. (1995).  New dimensions in photo image : A step-by-step  manual. (second edition).
             Focal Press.
Luciana,James and Watts,Judith. (1999). The Art of enhanced photography : beyond the photographic
image. Mitchell Beazley.

ภาพประกอบบทความ

กระดาษวาดภาพสีน้ำ ขนาด 200 gms ใช้เป็นวัสดุรองรับสารไวแสงแวนไดค์กระดาษหนาจะช่วยให้ภาพไม่โป่งงอจากน้ำที่ผสมในสารไวแสง

การฉาบสารไวแสง ด้วยแปรงโฟม ควรทาทางเดียว ขั้นตอนนี้ต้องทำในที่มืดสลัว หรือภายใต้แสงนิรภัยสีแดง ห้ามเปิดไฟฟลูออเรสเซนซ์ขณะทำงาน สารไวแสงจะเสีย (Fog)

วางเนกาทีฟบนกระดาษไวแสงที่แห้งสนิท ทำในห้องมืดภายใต้แสงนิรภัยสีแดง ปิดทับด้วยกระจกใสและยึดติดด้วยคลิปจับกระดาษขนาดใหญ่ทั้งสี่ด้าน


นำฉายแสง แสงแดดจัดใช้เวลา 5-10 นาที

นำมาล้างน้ำสะอาดประมาณ 1-2 นาที แล้วลงน้ำยาคงภาพ (Fixer) ใช้เวลา 1-2 นาที ภาพจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม นำขึ้นล้างน้ำอีกครั้ง20-30 นาที ครบเวลานำขึ้นตากแห้งในร่ม

ภาพ “พุทธมหาธาตุ”  จากกระบวนการแวนไดค์
ภาพโดย ผศ.สุรพงษ์ เอี่ยมพิชัยฤทธิ์
















 “เจดีย์วัดพระศรีสรรเพชร์”
ภาพโดย ผศ.สุรพงษ์ เอี่ยมพิชัยฤทธิ์

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ศิลปะภาพถ่ายอัลเทอร์เนทีฟ (Alternative Photography)

ศิลปะภาพถ่ายอัลเทอร์เนทีฟ (Alternative Photography)
ผศ.สุรพงษ์  เอี่ยมพิชัยฤทธิ์

การกลับมาของภาพถ่ายด้วยกระบวนการดั่งเดิม (Old Processing) แนวทางอนุรักษ์เชิงศิลปะ เป็นที่ทราบกันว่า การถ่ายภาพเป็นการจับแสงด้วยกล่องทึบและปฏิกริยาทางเคมีของสารไวแสง หรือ ซีซีดี(CCD) การสร้างสรรค์ศิลปะภาพถ่าย(Photography) มีพัฒนาการคู่ขนานกับศิลปะ (Fine Arts) ช่วงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในยุโรป เกิดภาพแนวทางอิมเพลสชั่น(Impressionism) ในส่วนของภาพถ่ายเกิดภาพแนวพิคโทเรี่ยล(Pictorialism) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิตอลมีอิทธิพลต่อการก้าวกระโดดของภาพถ่ายที่รวดเร็วและแปรเปลี่ยนจากความจริงประจักษ์ (Realistic) เป็นสิ่งสร้างสรรค์ที่ก้าวเกินกว่าความเป็นปัจจุบัน(Versual image) ทั้งอารมณ์และบรรยากาศ   ผิวสัมผัสของเนื้อกระดาษ
เส้นใยพืช (Fiber base) ได้ลดทอนลง  ผู้ที่นิยมชมชอบภาพถ่ายในแนวทางดั่งเดิมที่สร้างสรรค์ภาพจากสารไวแสงชนิดต่างๆได้หวนคืนสู่วิถีของกระบวนการที่ใช้สารไวแสง  ด้วยการนำกระบวนการเดิมกลับมาใช้สร้างสรรค์งานศิลปะในเชิงทดลองเป็นทางเลือก(Alternative Photography)  พัฒนาการใช้สารเคมีที่มีพิษน้อยลง ปรับปรุงสูตรสารไวแสงและ
กระการล้างสร้างภาพ(Development)  เช่นการนำกระบวนการไซยาโนไทฟ์(Cyanotype  process)  กระบวนการกัมไบโคเมท (Gum-bichromate  process) กระบวนการคาร์บอนพรินท์ (Carbon print  process) กระบวนการแวนไดค์ (Van-dyke  process)และอื่นๆ มาสร้างสรรค์และพัฒนากระบวนการต่างๆให้ง่ายและสะดวก ต่อการใช้งาน มีพิษต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง กระบวนการเหล่านี้ใช้สารไวแสงที่มีส่วนผสมของเงินไนเตรทน้อยมาก หรือไม่มีเลย (Non-silver)    ส่วนใหญ่เป็น
ปฏิกริยาของสารประกอบเหล็ก (Iron based) และสารประกอบโคเมียม(Chromium based)  ต้นแบบในการสร้างภาพไม่จำเป็นต้องเป็นฟิล์มเนกาทีฟ  สามารถใช้วัสดุโปร่งใส วัสดุทึบแสง เช่นโครงร่างใบไม้ ขนนก ใยฝ้าย ผ้าลูกไม้ กระดาษบาง ฯ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการสร้างสรรค์จากวัสดุรอบตัว  ผนวกกับจินตนาการ กำหนดระดับน้ำหนักภาพ (Tone value) เป็นไปตามความทึบบางของวัสดุต้นแบบ ประสิทธิภาพของสารไวแสง ช่วงเวลาและระดับความเข้มของรังสีอัลตราไวโอเรด(UV)  ดังนั้นตัวแปรจึงมีอยุ่บ้าง  แต่ทำให้ได้ภาพที่เป็นต้นฉบับเพียงชิ้นเดียวที่สมบูรณ์ (Master print)กระบวนการที่ใช้มิได้เกิดขึ้นด้วยความบังเอิน หรืออุบัติเหตุ  สิ่งเหล่านี้สามารถทำซ้ำได้  เพียงแต่ความสมบูรณ์ของภาพแต่ละภาพจะแตกต่างกัน ในแต่ละครั้ง
ศิลปะภาพถ่ายอัลเทอร์เนทีฟ  จึงเป็นภาพถ่ายทางเลือกเชิงทดลองที่น่าสนใจยิ่งอีกทางหนึ่ง ลักษณะพิเศษของสารไวแสงที่ให้สีสันเฉพะตัว ความงามของน้ำหนักภาพและฝีแปรง พื้นผิวของวัสดุที่ใช้รองรับสารไวแสง คุณสมบัติเหล่านี้จะพบได้เฉพาะในงานอัลเทอร์เนทีฟ เช่น กระบวนการไซยาโนไทฟ์ (Cyanotype process)
"ดอกบัว" กระบวนการไซยาโนไทป์บนกระดาษวาดภาพ ฉาบสารไวแสงทับ 2 ครั้ง ฉายแสง 5นาที(แสงแดด)


เรือหาปลา บ้านปากปะ 


 ยอปากใหญ่ ทะเลน้อย บ้านปากปะ จ.พัทลุง