วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ศิลปะภาพถ่ายอัลเทอร์เนทีฟ (Alternative Photography)

ศิลปะภาพถ่ายอัลเทอร์เนทีฟ (Alternative Photography)
ผศ.สุรพงษ์  เอี่ยมพิชัยฤทธิ์

การกลับมาของภาพถ่ายด้วยกระบวนการดั่งเดิม (Old Processing) แนวทางอนุรักษ์เชิงศิลปะ เป็นที่ทราบกันว่า การถ่ายภาพเป็นการจับแสงด้วยกล่องทึบและปฏิกริยาทางเคมีของสารไวแสง หรือ ซีซีดี(CCD) การสร้างสรรค์ศิลปะภาพถ่าย(Photography) มีพัฒนาการคู่ขนานกับศิลปะ (Fine Arts) ช่วงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในยุโรป เกิดภาพแนวทางอิมเพลสชั่น(Impressionism) ในส่วนของภาพถ่ายเกิดภาพแนวพิคโทเรี่ยล(Pictorialism) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิตอลมีอิทธิพลต่อการก้าวกระโดดของภาพถ่ายที่รวดเร็วและแปรเปลี่ยนจากความจริงประจักษ์ (Realistic) เป็นสิ่งสร้างสรรค์ที่ก้าวเกินกว่าความเป็นปัจจุบัน(Versual image) ทั้งอารมณ์และบรรยากาศ   ผิวสัมผัสของเนื้อกระดาษ
เส้นใยพืช (Fiber base) ได้ลดทอนลง  ผู้ที่นิยมชมชอบภาพถ่ายในแนวทางดั่งเดิมที่สร้างสรรค์ภาพจากสารไวแสงชนิดต่างๆได้หวนคืนสู่วิถีของกระบวนการที่ใช้สารไวแสง  ด้วยการนำกระบวนการเดิมกลับมาใช้สร้างสรรค์งานศิลปะในเชิงทดลองเป็นทางเลือก(Alternative Photography)  พัฒนาการใช้สารเคมีที่มีพิษน้อยลง ปรับปรุงสูตรสารไวแสงและ
กระการล้างสร้างภาพ(Development)  เช่นการนำกระบวนการไซยาโนไทฟ์(Cyanotype  process)  กระบวนการกัมไบโคเมท (Gum-bichromate  process) กระบวนการคาร์บอนพรินท์ (Carbon print  process) กระบวนการแวนไดค์ (Van-dyke  process)และอื่นๆ มาสร้างสรรค์และพัฒนากระบวนการต่างๆให้ง่ายและสะดวก ต่อการใช้งาน มีพิษต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง กระบวนการเหล่านี้ใช้สารไวแสงที่มีส่วนผสมของเงินไนเตรทน้อยมาก หรือไม่มีเลย (Non-silver)    ส่วนใหญ่เป็น
ปฏิกริยาของสารประกอบเหล็ก (Iron based) และสารประกอบโคเมียม(Chromium based)  ต้นแบบในการสร้างภาพไม่จำเป็นต้องเป็นฟิล์มเนกาทีฟ  สามารถใช้วัสดุโปร่งใส วัสดุทึบแสง เช่นโครงร่างใบไม้ ขนนก ใยฝ้าย ผ้าลูกไม้ กระดาษบาง ฯ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการสร้างสรรค์จากวัสดุรอบตัว  ผนวกกับจินตนาการ กำหนดระดับน้ำหนักภาพ (Tone value) เป็นไปตามความทึบบางของวัสดุต้นแบบ ประสิทธิภาพของสารไวแสง ช่วงเวลาและระดับความเข้มของรังสีอัลตราไวโอเรด(UV)  ดังนั้นตัวแปรจึงมีอยุ่บ้าง  แต่ทำให้ได้ภาพที่เป็นต้นฉบับเพียงชิ้นเดียวที่สมบูรณ์ (Master print)กระบวนการที่ใช้มิได้เกิดขึ้นด้วยความบังเอิน หรืออุบัติเหตุ  สิ่งเหล่านี้สามารถทำซ้ำได้  เพียงแต่ความสมบูรณ์ของภาพแต่ละภาพจะแตกต่างกัน ในแต่ละครั้ง
ศิลปะภาพถ่ายอัลเทอร์เนทีฟ  จึงเป็นภาพถ่ายทางเลือกเชิงทดลองที่น่าสนใจยิ่งอีกทางหนึ่ง ลักษณะพิเศษของสารไวแสงที่ให้สีสันเฉพะตัว ความงามของน้ำหนักภาพและฝีแปรง พื้นผิวของวัสดุที่ใช้รองรับสารไวแสง คุณสมบัติเหล่านี้จะพบได้เฉพาะในงานอัลเทอร์เนทีฟ เช่น กระบวนการไซยาโนไทฟ์ (Cyanotype process)
"ดอกบัว" กระบวนการไซยาโนไทป์บนกระดาษวาดภาพ ฉาบสารไวแสงทับ 2 ครั้ง ฉายแสง 5นาที(แสงแดด)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น